วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555



การตีความกฏหมาย
 1.หลักทั่วไปในการตีความกฏหมาย[]
                    หลักสำคัญในเรื่องการใช้กฏหมายคือการนำกฏหมายมาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่มีกรณีพิพาท หรือมีกรณีต้องใช้กฏหมายนั้นๆ การปรับบทกฏหมายก็ต้องปรับตามตัวอักษรของกฏหมาย

1.1    การตีความกฏหมายจะเกิดขึ้น ก็เเต่เฉพาะกรณีที่บัญญัติของกฏหมายมีข้อแคลือบแคลงสงสัย มีความหมายหลายนัย จะปรับบทบัญญัติของกฏหมายตามตัวอักษรไม่ได้จึงจำเป็นต้องหาเจตนารมณ์อันแท้จริงของกฏหมายนั้นว่ามีประการใด หรืออาจกล่าวได้อีกทางหนึ่งว่า ถ้าตัวบทกฏหมายชัดเจนอยู่แล้วก็ไม่ต้องตีความกฏหมายนั้น

                      คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๖๒/๒๕๐๘ โจทก์ฟ้องเรียกค่าโดยสารเครื่องบิน อายุความเรียกร้องมีกำหนด  ๑๐ปี ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๖๕(๓)(เดิม) คดีนี้ ศาลฎีกาเห้นว่ามีบทกฏหมายที่ยกมาปรับคดีได้ และระบุไว้ชัดเจนแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยตามครองจารีตประเพณี หรือมุ่งตามของบทบัญัญัติของกฏหมาย[๒]

      1.2 ในกรณีที่ข้อความในบทบัญญัติแห่งกฎหมายเคลือบคลุม จะต้องมีการตีความก่อนที่จะปรับตัวบทกฏหมายเข้ากับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยนั้น

            พระยาเทพวิทูร(บุญช่วย วนิกกุล) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ คำอธิบายประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ๑-๒มาตรา ๑-๒๔๐  ตอนหนึ่งว่า:

            “….การแปลหรือตีความในกฏหมายนั้นมีหลักในชั้นต้นว่า จะต้องแปลถ้อยคำ และเนื้อความที่ปรากฏในกฏหมายตามที่เข้าใจกันตามความหมายธรรมดา เว้นเเต่ คำที่ใช้ในทางวิชาการ ก็ต้องแปลตามวิาการนั้นๆ และถ้าคำใดอาจแปลได้ตามความหมายธรรมดาอย่างหนึ่ง เเละทางวิชาการอย่างหนึ่ง เป้นหน้าที่ของฝ่ายที่อ้างเป้นคำใช้ทางวิชาการต้องแสดงให้ปรากฏ ในกรณีที่ข้อเคลือบเเคลงสงสัย มีเเนวทางที่จะช่วยในการแปลหรือตีความได้หลายประการ เเต่ที่สำคัญคือ

            พิจรณาเทียบข้อความอื่นในมาตราเดียกัน หรือ ในมาตราอื่น บทอื่นในกฏหมายเดียวกัน หรือในกฏหมายอื่นในเรื่องเดียกัน หรือคล้ายคลึงกัน

            ดูความประสงค์ใการออกกฏหมายนั้น ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงหลักกฏหมาย หรือบทกฏหมายที่เป็นอยู่ในขณะที่ออกกฏหมายอันเป็นปัญหานั้น หรือไม่ ถ้ามีข้อสงสัยเเล้วสันนิษฐานว่าไม่ประสงค์จะเปลี่ยนกฏหมายเดิม

            พิจรณาเรื่องที่ดำเนินมาในร่างกฎหมายนั้น เช่น ดูร่างเดิม รายงาน เเละร่างที่แก้ไขมาเป้นลำดับ ประกอบ ด้วยข้อโต้เถียงในการแก้ไขร่างนั้นๆ….”[]

 1.3 สำหรับความหมายของคำธรรมดาที่ใช้ในกฏหมายนั้น ศาฎีกาถือตามความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

                    คำพิพากษาศาลฎีกาที่๗๙/๒๕๐๙ พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา ๔๐ บัญญัติหามมิให้ผู้ใดนำไม้หรือของป่า ผ่านด่านป่าไม้ ในระหว่างเวลาตั้งเเต่พระอาทิตย์ตกถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้น เว้นเเต่จะได้รับอนุญาต ฯลฯ แต่พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ไม่มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่าผ่าน ก้ต้องตีความตามความหายธรรมดา (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) ซึ่งหมายถึง กิริยาที่ล่วงพ้นไป ตัดไป ลัดไป หรือข้ามไป ฉะนั้นเมื่อคดีได้ความว่าจำเลยเพียงเเต่นำไม้เข้ามาในเขตด่านป่าไม้ จะเเปลว่าจำเลยได้นำไม้ผ่านป่าไม้ไม่ได้ จะเลยไม่มีความผิดตามมาตรา ๔๑

  1.4 คำที่มีความหายจำเพาะ( a term of art หรือ  a word of art )  คำใดมีกฏหมายบัญญัติ ไว่ว่ามีความหมายอย่างไร ในการใช้หรือการตีความกฏหมายฉบับนั้นโดยเฉพาะย่อมจะต้องเป็นไปตามนั้นเเม่จะขัดต่อความหมายยธรรมดาหรือฝืนความรู้สึกของคนทั้วไปก็ตาม

            ในพระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ มีวิเคราะห์ไว้ว่า คำว่า สัตว์น้ำให้หมายความถึงบัวด้วย เพราะฉะนั้น ตามกฏหมาที่ว่า จะต้อถือว่าบัวน้ำนั้นเเหละปลาความมุ่งหมายของกฏหมายมีว่า การใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำบางอย่างเป็นการทำลายพันธุ์ปลามากเกินสมควร ทั้งนี้พิเคราะห์ดูตามลักษณะเครื่องมือที่ใช้ ฤดูกาลและสถานที่ที่บุคคลทำการจับสัตว์น้ำ ผลจึงเป็นว่า การนำเเหบางชนิดไปทอดปลา เเต่ไปทอดเอาบัวเข้า ต้องมีความผิดตามกฏหมาย เพราะเหตุว่าบัวเป็นที่อาศัยของปลา การทำลายบัว จึงถือเท่ากับเป็นการทำลายปลาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย[]
                        ตามที่ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ให้คำอธิบายนี้ ย่อมเห้นได้ชัดว่ากฏหมายมีความประสงค์จะคุ้มครองบัว เช่นเดียวกับสัตว์น้ำ  เเต่เเทนที่จะระบุเรื่องบัวเป็นเอกเทศ เพื่อความสะดวก ก็ระบุไว้ในบทนิยามคำว่าสัตว์น้ำ ให้รวมถึงบัว ด้วย เรียกคำประเภทนี้ว่า “a term of art” ยิ่งกว่านั้น แม้กฏหมายมิได้บัญญัติไว้แจ้งชัดในบทนิยามดังกล่าว ในบางคดี ศาลก็ต้องตีความเหมือนกันว่า เรื่องใดอยู่ในข่ายจองคำนิยามศัพท์นั้น[]


   2. การตีความกฎหมายอาญา
การตีความกฎหมายอาญานั้น มีหลักเกณฑ์แตกต่างไปจากการตีความกฎหมายแพ่งจึงจำเป็นต้องพิจารณาดังต่อไปนี้:
โดยที่กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดและวางโทษไว้ และการลงโทษทางอาญาเป็นการตัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลและสร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ต้องรับโทษอาญาโดยแท้ การตีความกฎหมายที่มีโทษทางอาญา จึงแตกต่างไปจากการตีความกฎหมายอื่น กล่าวคือ ต้องตีความโดยเคร่งครัดตามตัวอักษรในบทกฎหมายเท่านั้น ว่าจำเลยได้กระทำการซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าหากการกระทำของจำเลยไม่ตรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามตัวอักษร จะถือว่าจำเลยกระทำความผิดอาญามิได้

ศาสตราจารย์พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ กล่าวไว้ในประเด็นนี้ว่า:
การแปลกฎหมายอาญามีหลักต่างกว่ากฎหมายแพ่ง เช่นเทียบกับบทกฎหมายใกล้เคียงไม่ได้ อาทิตัวบทกล่าวว่า ผู้ใดกระทำโดยเจตนาให้ผู้หนึ่งผู้ใดถึงแก่ความตาย ท่านว่ามันฆ่าคนโดยเจตนา แต่ถ้าฆ่าตัวเองจะนำบทนี้มาลงโทษไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติโดยตรงว่าผิด ทั้งนี้อย่าลืมว่าเป็นคนละเรื่องกับการตีความของศาล ไม่มีอะไรห้ามมิให้ศาลตีความ หลักการตีความ ย่อมให้ได้ทั่วไปทั้งทางแพ่งและทางอาญา ทางอาญาการตีความต้องใช้หลักเคร่งครัดไม่ใช่ extensive ต้องตีความโดยเด็ดขาด ไม่ใช่ขยายความโดยหลักนี้ ศาลมีอำนาจจะค้นหาเจตนาของผู้ร่างว่า ผู้ร่างมีความมุ่งหมายอย่างไร แต่ศาลจะตีความให้ฝ่าฝืนลายลักษณ์อักษรที่เขียนไว้ไม่ได้ ต้องตีความเพียงภายในลายลีกษณ์อักษร…” []

การตีความกฎหมายที่มีโทษทางอาญาโดยเคร่งครัดนี้ มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้คือ:
   2.1  การตีความกฎหมายอาญา จะขยายความในบทบัญญัติเพื่อลงโทษหรือเพิ่มโทษให้หนักขึ้นไม่ได้
                         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๑๕/๒๕๐๓ ปลอมดวงตรานกวายุภักษ์ อันเป็นดวงตราราชการกรมสรรพสามิตลงในแม่พิมพ์ไพ่ และใช้แม่พิมพ์นั้นพิมพ์ไพ่ผ่องจีน และไพ่สี่สีปลอม โดยเจตนาหลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นไพ่ที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น เมื่อดวงตรานกวายุภักษ์นั้นเป็นเพียงเครื่องหมายในการค้าของกรมสรรพสามิตผลิตขึ้น การใช้ดวงตรานกวายุภักษ์บนไพ่นั้น จึงหาใช่เป็นการใช้ดวงตราตามความหมายของกฎหมายไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงเจตนาทำไพ่ปลอมเท่านั้น (วินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๑๐/๒๔๙๔)
   2.2 การตีความกฎหมายอาญาให้มีผลย้อนหลัง เป็นโทษแก่บุคคลใดไม่ได้ บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษที่จะลวแก่ผู้กระทำความผิดนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย.[]
                        สั่งศาลฎีกาที่ ๙๒๐/๒๕๓๖ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยของชาติ ฉบับที่ ๒๖ (ประกาศ ร.ส.ช. ฉบับที่ ๒๖) เป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญาที่ใช้บังคับย้อนหลังในเรื่องของการมีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต ขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช ๒๕๓๔ จึงใช้บังคับไม่ได้. 
   2.3 ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด. [๘]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๙๕/๒๕๐๑ จำเลยทำผิดขณะใช้กฎหมายเก่า แต่ในขณะพิจารณาคดี ได้มีการใช้กฎหมายใหม่แล้ว และกฎหมายใหม่กำหนดโทษขั้นสูงเบากว่ากฎหมายเก่า ศาลใช้กฎหมายใหม่ลงโทษ
    2.4 เมื่อกฎหมายไม่ระบุไว้ชัดเจน จะตีความให้เป็นโทษแก่จำเลยไม่ได้
                        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๓๘/๒๕๐๔ ปัญหาที่ว่า “การที่ศาลจะปรับจำเลยเป็นรายวันอีกนั้นจะต้องนับแต่วันใด” ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๓ มีความในวรรคท้ายตอนกำหนดโทษว่า “ฝ่าฝืนตามมาตรานี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าสิบบาท จนกว่าจะได้ปฎิบัติให้ถูกต้อง” ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่มีที่ใดระบุไว้ชัดแจ้งว่า “จนกว่าจะได้ปฎิบัติให้ถูกต้องนี้” ให้เริ่มนับตั้งแต่วันใดจึงจะแปลว่า กฎหมายประสงค์จะให้นับแต่วันที่จำเลยถูกจับ หรือเจ้าพนักงานสอบสวนจำเลยตามฟ้องโจทก์ ซึ่งโจทก์ถือว่าเป็นวันที่ความผิดปรากฎ ดังฎีกาโจทก์ หาได้ไม่ เมื่อกฎหมายไม่ได้ระบุ หรือมีข้อความชัดเจนให้ถือเอาวันที่จำเลยถูกจับ หรือวันที่เจ้าพนักงานสอบสวนเริ่มนับสำหรับปรับจำเลยเป็นรายวันเช่นนี้แล้ว ศาลจะแปลให้เป็นโทษแก่จำเลยไม่ได้ นอกจากนี้ การที่จะฟังว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่ก็ด้วยศาลเป็นผู้ชี้ขาด จะถือเอาวันที่เข้าพนักงานสอบสวนจำเลยว่า เป็นวันที่จำเลยกระทำผิดแล้วไม่ได้ฉะนั้น ข้อความที่ว่า “จนกว่าจะได้ปฎิบัติให้ถูกต้องนี้” จึงหมายความให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแล้วเป็นต้อนไป.

3. การตีความกฏหมายเเพ่ง
กฏหมายเเพ่ง เป้นกฏหมายที่ว่าด้วย สิทธิ หน้าที่ เเละความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนไม่เหมือนกับกฏหมายอาญา ซึ่งว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน โดยเอกชนมีหน้าที่ต้องเคารพต่อบทบัญญัติเเห่งกฏหมาย เเละในขณะเดียวกัน กฏหมายอาญาก็มีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติ แห่งกฏหมายนั้นด้วย ดังนั้น การตีความกฏหมายแพ่งจึงไม่เคร่งครัดเท่ากับการตีความกฏหมายอาญา จึงมีประมวลกกหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ มาตรา๔ มากำหนดการตีความในการอุดช่องว่างของกฏหมายไว้ด้วย
    
        3.1 กฏหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ เเห่งกฏหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายขอบทบัญญัตินั้นๆ
3.2 ในกรณีไม่มีบทบัญญัติ เเห่งกฏหมายบังคับเเก้คดี ก็จะต้องวินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
            คำพิพากษาศาลฎีกาที่๘๔๕/๒๔๙๗ ธรรมเนียมประเพณีวงการค้า เกี่ยวกับการค้าเกี่ยวกับการขนส่งที่ทราบกันอยุ่ระหว่างคู้สัญญานั้นเเล้วว่า ถ้าเสียเวลา ก็มีการคิดค่าเสียเวลาให้เเก่กัน ดังนี้ เเม่ไม่ได้เขียนระบุไว้เป็นอย่างอื่น ประเพณีนั้นย่อมยังคับแก่กันได้ เท่ากันเป็นการตกลงโดยปริยาย
3.3 ถ้าไม่มีจารีตประเพณี ต้องวินิจฉัยคดีอาศัยเทียบ บทกฏหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
                            คำพิพากษาศาลฎีกาที่๒๖๔๓/๒๕๑๔ คำว่า ผลิตภัณฑ์อาหาร” ตามบัญชีที่๑ หมวด๑(๔) ท้ายพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ.๒๕๐๙ ไม่มีบทนิยามให้ความหมายโดยเฉพาะ จึงต้องค้นหาความหมายโดยเปรียบเทียบ จาก บทบัญญัติ ที่ใกล้เคียงคดีอย่างยิ่ง คือ จากมาตราอื่นๆ ขอประมวลนั้นเอง
            3.4 ถ้าไม่มีบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ให้วินิจฉัยตามหลักกฏหมายทั้วไป
            หลักกฏหมายทั้งไปได้เเก่หลักสำคัญซึ่งต้องใช้ในการวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ในกฏหมาย หลักสำคัญเช่นว่านั้นไม่มีบัญญัติไว้ชัดเเจ้งในบัญญัติเเห่กฏหมาย เเต่ปรากฏอยู่ในคำพิพากษาศาลฎีกาบ้าง ตามสุภาษิตกฏหมายบ้าง ตำรากฎหมายบ้าง.


SCHOOL OF LAW - ASSUMPTION UNIVERSITY

Reference
_______________________

  • [1] ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร, อภิชน จันทรเสน, คำเเนะนำนักศึกษากฏหมาย,พิมพ์ครั้งที่๕ (กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550) หน้า ๑๗๖-๑๙๕
  • [2]ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๖๔ และ มาตรา๑๖๕ (๓)
  • [3]พระยาเทพวิทูร,คำอธิบายประมวลกฏหมายแพ่งเเละพาณิชย์ บรรพ๑-๒ มาตรา ๑-๒๔๐ (กรุงเทพฯ:เนติบัญฑิตยสภา, ๒๕๐๙), หน้า๒๒-๒๔
  • [4] .ร.ว. เสนีย์ ปราโมช, ลิชสิทธิของผู้เเต่งหนังสือ, (กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, ๒๕๑๑), หน้า๒๐-๒๑
  • [5] เรื่องบทนิยาม, ๕๐ปี ราบัณฑิตยสถาน,กรุงเทพฯ: (กรุงสยามการพิมพ์,๒๕๒๗), หน้า ๓๗-๓๙
  • [6] ศาสตราจารย์พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ กฏหมายอาญาพิศดาร พ.ศ.๒๔๘๙ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระยาอะะถการีย์นิพนย์,(กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี,๒๕๒๑), หน้า๑๑๓
  •  [7] ประมวลกฏหมายอาญา มาตรา๒ วรรคหนึ่ง
  • [8] ประมวลกฏหมายอาญา มาตรา๓ วรรคหนึ่ง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น